เทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารและระบบเครือข่ายคอมพิวเตร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ข้างเคียงต่าง ๆ
มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล
ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ
คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ข้างเคียงการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น
เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย
จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น
เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง
มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน
หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู
แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ
ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิมการเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น
ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น
มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ
มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์
หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง
และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน
ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน
โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน
จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน
ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ธรรมชาติของมนุษย์จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ร่วมกันทำงานสร้างสรรสังคมเพื่อให้ความเป็นอยู่โดยรวมดีขี้น
จากการดำเนินชีวิตร่วมกันทั้งในด้านครอบครัว การทำงาน ตลอดจนสังคมและการเมือง
ทำให้ต้องมีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
เมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
พัฒนาการทางด้านคอมพิวเตอร์จึงต้องตอบสนองเพื่อให้ใช้งานได้ตามความต้องการ
แรกเริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบรวมศูนย์ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรม
โดยให้ผู้ใช้งานใช้พร้อมกันได้หลายคน
แต่ละคนเปรียบเสมือนเป็นสถานีปลายทางที่เรียกใช้ทรัพยากรการคำนวณจากศูนย์คอมพิวเตอร์
และให้คอมพิวเตอร์ตอบสนองต่อการทำงานนั้น
การติดต่อสื่อสารและระบบเครือข่าย
ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาโมโครคอมพิวเตอร์
ที่ทำให้สะดวกต่อการใช้งานส่วนบุคคล จนมีการเรียกไมโครคอมพิวเตอร์ว่า พีซี (Personal
Computer) การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์แพร่หลายอย่างรวดเร็ว
เพราะใช้งานง่าย ราคาไม่สูงมาก สามารถจัดหามาใช้ได้ไม่ยาก เมื่อมีการใช้งานกันมาก
บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ก็ปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการ
ที่จะทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในรูปแบบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง
และกำลังได้รับความนิยมสูงมาก
เพราะทำให้ตอบสนองตรงตามความต้องการที่จะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน
ดังนั้น จึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการ
หรือที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (server) และให้ไมโครคอมพิวเตอร์ตามหน่วยงานต่าง
ๆ เป็น เครื่องใช้บริการ (Client) โดยมี เครือข่าย (Network) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จากจุดต่าง
ๆ
แสดงการเชื่อมโยงเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น
เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีกำลังในการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง เช่น
มินิคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้
เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็สามารถขยายเครือข่ายการใช้คอมพิวเตอร์โดยเพิ่มจำนวนเครื่อง
หรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์การ
ในปัจจุบัน องค์การขนาดใหญ่ก็สามารถลดการลงทุนลงได้
โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากกลุ่มเล็ก ๆ หลาย ๆ กลุ่ม
รวมกันเป็นเครือข่ายขององค์การ
โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถทำได้ดีเหมือนเช่นในอดีตที่ต้องลงทุนจำนวนมาก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1.
ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานพร้อมกันได้
2.
ทำให้สามารถใช้ข้อมูลต่าง
ๆ ร่วมกัน ซึ่งองค์การจะได้รับประโยชน์มากขึ้น
3.
ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า
เช่น เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน
4.
ทำให้ลดต้นทุน
เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้
ข้อดีและข้อเสียของระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์
ข้อดีของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup) แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ
กลุ่มงานเข้าด้วยกัน ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร
และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
มีดังนี้
1.การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์
ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์
โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
เช่น
- การใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งรวม
- เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง
- การนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเช่น
Modem ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูล
- ใช้ FAX ร่วมกัน
2.การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม
และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น
ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน
ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน
นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร
์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง
เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก(Client) สามารถเข้ามาใช้
โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้
เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม
ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
3.สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication)
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN
, MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น
การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล
(Serach Engine) เป็นต้น
4.สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability)
องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน
ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ
ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน
เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว
เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
5.ความประหยัด
นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง
หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5
– 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ
ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้
ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
6.ความเชื่อถือได้ของระบบงาน
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ
ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ
มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้
เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้
อย่างทันที
7.อื่นๆ
© สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภพ
© สามารถแชร์เอกสาร
เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ ใบส่งขอ บัญชีต่าง ๆ ใบรายการ สินค้า
เป็นต้น
© สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรืออีเมล์ ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
© การสนทนาผ่านเครือข่าย
หรือการแชท (Chat)
© การประชุมระยะไกล
(Videoconference)
© การแชร์ไฟล์ต่าง
ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น
ข้อเสียของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ลงทุนสูงและจัดการยุ่งยาก
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการจัดการระบบเครือข่าย
ต้องใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ
และมีประสบการณ์สูง จึงต้องใช้งบประมาณ การเริ่มต้นลงทุนสูงมาก
อีกทั้งเทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก
จำเป็นต้องมีงบประมาณ เพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
การแบ่งทรัพยากรกันใช้นั้นอาจไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้ทันทีทันใด
เพราะหากมีการเรียกใช้ทรัพยากรเดียวกันจากคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องพร้อมกัน
เช่น การใช้เครื่องพิมพ์โดยเครื่องพิมพ์นั้นมีการใช้งานจากคอมพิวเตอร์ตัวอื่นอยู่ก่อนหน้าแล้ว
งานพิมพ์ของเราก็จะต้องเข้าคิวรอการทำงาน
2.ขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์
ระบบเครือข่ายปัจจุบัน ยังขาดแคลนซอฟต์แวร์ประยุกต์ ด้านต่าง ๆ
ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อม แบบเครือข่ายอยู่มาก เพราะการพัฒนา
ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูง ต้องใช้เวลาในการพัฒนา
จึงจะสามารถสร้างซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ ได้
3.การรักษาความปลอดภัย
ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ยังขาดความปลอดภัยในด้านการรักษาข้อมูลอยู่มาก
มีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นแอบเข้ามาเอาข้อมูลได้จากหลาย ๆที่
หรืออาจมีข้อมูลสูญหายได้ ในขณะติดต่อสื่อสาร เนื่องจากมีข่าวสารในระบบอยู่มาก
4.ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ
ในระบบเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต
การเรียกใช้ข้อมูลในไฟล์ผ่านระบบเครื่อข่ายนั้นจะมีความเร็วที่ช้ากว่าการเรียกใช้ข้อมูลกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องของตน
ตัวกลางนำที่ใช้ ในการนำสัญญาณ ยังมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำ
เมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ หรือโทรทัศน์
โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่มาก